วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วิธีย่อรูปสำหรับใช้ในเว็บ

1.วิธีย่อรูปสำหรับใช้ในเว็บ
นำความรู้ที่ใช้แนะนำเพื่อนรุ่นวัยทองมาวางไว้หน้านี้ แสดงเป็นขั้นตอนง่ายๆ เผื่อมือใหม่จะใช้ฝึกหัดได้ ขอขอบคุณย่าดาที่สอนให้ป้ามดทำเป็น และให้คำปรึกษาตลอดมาใช้ Photoshop ทำตามนี้นะคะ จะบอกให้เป็นขั้นตอน1. เปิดโปรแกรม photoshop ขึ้นมาแล้ว open รูปที่จะย่อ ถ้าใช้ window XP ก็ใช้คลิกแช่แล้วลากรูปเข้าไปหน้าจอ photoshop เลย (drag - drop)

2. ใช้คำสั้ง image --> image size

3. เลือก image size แล้วจะแสดงจอนี้ขึ้นมา เราจะเห็นขนาดจริงของรูปนี้


4. เปลี่ยนค่าของรูปให้เล็กลง ถ้าเราไม่ทำขนาดให้เล็กลงในขั้นตอนนี้ แต่ไปเปลียนขนาดของไฟล์อย่างเดียว


5. รูปถูกย่อลงแล้ว ถ้าไม่พอใจขนาดของรูป ก็ลองเปลี่ยนขนาดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจ


6. เมื่อพอใจขนาดของรูป ก็ทำการ save แต่ถ้าจะ save เพื่อใช้งานกับเว็บ ต้องใช้ save for web


7. เลือก save for web แล้ว จะแสดงจอขึ้นมา ให้หาช่องปรับค่าของ quality ของรูป ตัวเลขในช่อง quality จ


8. จากรูปข้างบน เมื่อเราปรับค่า qty ให้มองที่มุมล่างซ้าย ขนาดของไฟล์รูปจะเปลี่ยนตามไปด้วย
ปกติที่เว็บ พันทิพย์ อนุญาตให้ค่าของรูปแค่ 64 k (แต่เว็บนี้ให้ตั้ง 100 k แน่ะ)

9. เมื่อกด ok จะปรากฏจอที่ให้เราสั่งว่า จะเก็บรูปนี้ไว้ที่ไหน เลือกแล้วจำด้วยนะว่ามันอยู่ที่ไหน
อย่างในรูปนี้ ป้ามดส่งรูปไปเก็บที่ folder ชื่อว่า save for web ท่านอื่นจะส่งไปเก็บตรงไหนก็เลือกเอา โดยกดที่ลูกศรสีน้ำเงินข้างๆกล่อง save in แล้วมันจะปรากฏที่ให้เลือก ถ้าเลือกไม่ถูก แนะนำให้สร้าง folder ไว้ที่ desktop จะได้หาง่ายๆหน่อยจ้าhttp://www.bloggang.com/

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การสร้าง blogger

การสร้าง blogger


1.การสร้าง blogger เข้าไปที่ http://www.blogger.com/ จะเกิดหน้าต่างขึ้นคลิกที่แถบลูกศรสีส้ม create your blog now

2.เกิดหน้าต่าง ขั้นที่ 1 create account พิมพ์รายละเอียดต่างๆให้ครบกด continue
3.เกิดหน้าต่าง ขั้นที่ 2 name your blog พิมพ์รายละเอียดต่างๆให้ครบกด continue
4.เกิดหน้าต่าง choose a template เพื่อเลือกลวดลายของหน้าต่างที่เราจะใช้เป็น web page มี 12 ลายให้เลือก เมื่อเลือกได้แล้วก็คลิก continue
5.หลังจากนั้นจะเกิดหน้าต่าง your blog has been created คลิก start postingเพื่อเริ่มสร้าง blog ตอนนี้ก็ถือว่าเสร็จสิ้น การสร้าง blogger แล้ว เพื่อนๆๆสามารถทำได้อย่างง่ายๆ
โดยวิธีตามนี้แล้ว ขอให้สร้าง blog กันได้ทุกคนนะ



วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

สื่อกราฟฟิก



สื่อวัสดุกราฟิก
....ความหมาย" กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้.........ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้1. ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ทุกวิชา โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียน2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลาในการสอน3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและอยากเรียน4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ6. ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน7. ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้างความเข้าใจอันดีภายในและภายนอกองค์กร

การใช้สื่อ

1.สื่อการสอน
***ความหมายของสื่อการสอน ***สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ที่มา :
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php
***ประโยชน์ของสื่อการสอน ***1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น· นำอดีตมาศึกษาได้· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้นที่มา :
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php
***การออกแบบสื่อการสอน ***การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน**ลักษณะการออกแบบที่ดี (Charecteristics of Good Design) **1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น**หลักการออกแบบสื่อ**
1.ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2.ลักษณะของผู้เรียน ใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะ
สำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3.ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น
-การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต
-การสอนกลุ่มเล็ก
-การสอนเป็นรายบุคคล
กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนตร์มีความเหมาะสมกับการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4.ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีความเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนตร์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถือหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก
-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก
-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย องค์ประกอบของการออกแบบ
1.จุด ( Dots )
2.เส้น ( Line )
3.รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4.ปริมาตร ( Volume )
5.ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7.สี ( Color )
8.น้ำหนักสื่อ ( Value )ที่มา :
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl
***การใช้สื่อการสอน ***1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่องใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)
ที่มา:
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl
***การติดตามและประเมินผลการใช่สื่อการสอน ***โนเอล และ ริโอนาร์ด ได้ให้หลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้สื่อดังนี้ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อติดตามผล ดังนี้
1. ร่วมกันอภิปรายเนื้อหาที่สำคัญ ในระหว่างการใช้โสตทัศนูปกรณ์
2. ร่วมกันทำความเข้าใจเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ
3. ครูอธิบายความคิดรวบยอดให้เด็กเข้าใจได้ชัดเจน
4. ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้
5. ร่วมกันวางแผนในการนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือการเรียนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
6. ผู้สอนสำรวจดูว่าการใช้สื่อการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจทำได้ดังนี้
· ผู้สอนวิจารณ์ผลการเรียนโดยใช้สื่อการสอน· ผู้สอนอาจใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การทดสอบนั้นต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย เช่น ถ้าต้องการทราบความเข้าใจก็ต้องออกแบบทดสอบวัดความเข้าใจ
· ไม่ควรใช้แบบทดสอบความจำ และไม่ควรใช้แบบทดสอบที่มีความซับซ้อนจนเกินไปเอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ให้ผู้ใช้ประเมินผลการใช้สื่อการสอนจากคำถามที่ว่า สื่อการสอนเหล่านั้นมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ เพียงไร
· ให้ภาพพจน์ที่แท้จริงในการสอน
· ให้เนื้อหาวิชาตรงตามจุดมุ่งหมาย
· เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ของผู้เรียน
· สภาพรูปร่าง และลักษณะของโสตทัศนวัสดุเหล่านั้นเป็นที่พอใจ
· มีผู้ให้คำแนะนำแก่ครูในการใช้โสตทัศนวัสดุเหล่านั้นให้ได้ประโยชน์
· ช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
· ช่วยให้นักเรียนใช้ความคิดพิจารณา
· ให้ผลคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความพยายามที่ได้ทำไป

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีในวงการศึกษา





เทคโนโลยีในวงการศึกษา
เทคโนโลยีในวงการศึกษาการใช้เทคโนโลยีในวงการศึกษาสามารถใช้ได้ทั้งในเรื่องของการบริหารจัดการภายใน สถาบันการศึกษาและในการเรียนการสอน ดังนี้ - การบริหารจัดการ สถาบันการศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ เช่น การจัดทำงบประมาณ สร้างฐานข้อมูลผู้สอนและผู้เรียน สร้างเว็บไซต์ของสถาบัน สร้างฐานข้อมูลห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ - ผู้สอน/ผู้ทบทวน การใช้เทคโนโลยีในฐานะผู้สอน/ผู้ทบทวน จะใช้ในลักษณะ เหมือนการบรรยายโดยครูผู้สอนในการให้ข้อมูลสารสนเทศใช้ในการสาธิตตามกระบวนการขั้นตอน และใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนแก้ปัญหา ตอบคำถาม หรือ กระทำตามกระบวนการ - การสำรวจ ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการสำรวจข้อมูลสารสนเทศใช้เพื่อการเรียนรู้แบบค้นพบ เรียนรู้ข้อเท็จจริง หลักแนวคิด กระบวนการและกลยุทธ์ต่าง ๆ - อุปกรณ์เครื่องมือ เทคโนโลยีในลักษณะของอุปกรณ์เครื่องมือจะไม่เหมือนกับ การใช้เป็นผู้สอนหรือการสำรวจ แต่จะเป็นการใช้เพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอนและ สร้างชิ้นงาน เช่น ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำเพื่อพิมพ์รายงาน ใช้กล้องดิจิทัลเพื่อถ่ายภาพประกอบเนื้อหาบทเรียน ใช้เครื่องวิชวลไลเชอร์นำเสนอภาพจากคอมพิวเตอร์ฯลฯ - การสื่อสาร ใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในระหว่างสถาบันกับผู้สอนและผู้เรียนเพื่อ ลดความสิ้นเปลืองกระดาษ สื่อสารภายนอกกับผู้ปกครองนักเรียนและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ิ เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ ด้วยการใช้งานในลักษณะดังกล่าวทำให้จำเป็นต้องมีการเรียนรู้กับเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วจะมีการเรียนรู้เทคโนโลยีใน 3 ลักษณะ ได้แก่ - การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (learning about technology) เป็นการเรียนรู้ในเรื่องของเทคโนโลยี เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ว่าคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการประมวลผล เก็บบันทึกค้นคืนสารสนเทศได้อย่างไร เครื่องพิมพ์เลเซอร์และเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกมีการทำงานอย่างไร เทคโนโลยีการสื่อสารมีรูปแบบใดบ้าง ช่องทางสื่อสารมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยอุปกรณ์ใดบ้างฯลฯ วิชาเพื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีมีหลายวิชา เช่น วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น วิชาเครือข่ายดิจิทัล หรืออาจเรียนรู้จากเว็บไซต์ เช่น www.intel.com ที่นำเสนอในเรื่องต่่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะมัลติมีเดีย - การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (learning by technology) เป็นการใช้้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการสร้างบทเรียน การใช้้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้า การใช้เวิลด์ไวด์เว็บเป็นสื่อในลักษณะการสอบบนเว็บ การเรียนการสอนในลักษณะอีเลิร์นนิงและการทัศนศึกษาเสมือนด้วยแหล่งการเรียนรู้เสมือนจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นต้น - การเรียนรูุ้้ไปกับเทคโนโลยี (learning with technology) เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ได้แก่ การเรียนรู้ว่าขณะนี้เทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปในลักษณะและรูปแบบใดบ้างทั้งทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเช่น ซอฟต์แวร์โปรแกรมใหม่ ๆ เครื่อง tablet PC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ไร้สายที่ผู้ใช้สามารถเขียนลงบนจอภาพได้ กล้องดิจิทัลเพื่อถ่ายภาพและเว็บแค็ม (webcam)เพื่อใช้ส่งภาพขณะสนทนาบนอินเทอร์เน็ต ฯลฯ เมื่อเรียนรู้ถึงความใหม่ทันสมัยเทคโนโลยีแล้วจะนำมาประยุกต์ใช้ในวงการต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง เช่น การใช้กล้องวีดิทัศน์ถ่ายภาพการสอนส่งไปบนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้เรียนในสถานบันการศึกษาอื่นเห็นภาพและได้ยินเสียงการสอน การใช้เครือข่ายไร้สายด้วยเทคโนโลยี Wi-fi ทั้งในและนอกห้องเรียนแพทย์สามารถใช้ tablet PC เพื่อเขียนสั่งยาคนไข้และส่งไปยังห้อง ยาได้ทันที หรือใช้ในการค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตขณะปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพเหล่านี้เป็นต้น














หมวดที่๙ เทคโนโลยีทางการศึกษา
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมตามความ จำเป็น
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทาง วิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จาการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษ ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 69 จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
แนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา
แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ 4 ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
· โรงเรียนไม่แบ่งชั้น
· บทเรียนสำเร็จรูป
· การสอนเป็นคณะ
· คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ความพร้อม (Readiness) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
· ชุดการเรียนการสอน
· ศูนย์การเรียน
3. เวลาที่ใช้ในการศึกษา นวัตกรรมที่สนองความคิดนี้ ได้แก่
· ตารางเรียนแบบยืดหยุ่น
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การเรียนทางไปรษณีย์
4. การขยายตัวด้านวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้ขึ้น ได้แก่
· ดาวเทียมเพื่อการศึกษา
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การศึกษาทางไกล
· การเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต