วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีในวงการศึกษา





เทคโนโลยีในวงการศึกษา
เทคโนโลยีในวงการศึกษาการใช้เทคโนโลยีในวงการศึกษาสามารถใช้ได้ทั้งในเรื่องของการบริหารจัดการภายใน สถาบันการศึกษาและในการเรียนการสอน ดังนี้ - การบริหารจัดการ สถาบันการศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ เช่น การจัดทำงบประมาณ สร้างฐานข้อมูลผู้สอนและผู้เรียน สร้างเว็บไซต์ของสถาบัน สร้างฐานข้อมูลห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ - ผู้สอน/ผู้ทบทวน การใช้เทคโนโลยีในฐานะผู้สอน/ผู้ทบทวน จะใช้ในลักษณะ เหมือนการบรรยายโดยครูผู้สอนในการให้ข้อมูลสารสนเทศใช้ในการสาธิตตามกระบวนการขั้นตอน และใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนแก้ปัญหา ตอบคำถาม หรือ กระทำตามกระบวนการ - การสำรวจ ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการสำรวจข้อมูลสารสนเทศใช้เพื่อการเรียนรู้แบบค้นพบ เรียนรู้ข้อเท็จจริง หลักแนวคิด กระบวนการและกลยุทธ์ต่าง ๆ - อุปกรณ์เครื่องมือ เทคโนโลยีในลักษณะของอุปกรณ์เครื่องมือจะไม่เหมือนกับ การใช้เป็นผู้สอนหรือการสำรวจ แต่จะเป็นการใช้เพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอนและ สร้างชิ้นงาน เช่น ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำเพื่อพิมพ์รายงาน ใช้กล้องดิจิทัลเพื่อถ่ายภาพประกอบเนื้อหาบทเรียน ใช้เครื่องวิชวลไลเชอร์นำเสนอภาพจากคอมพิวเตอร์ฯลฯ - การสื่อสาร ใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในระหว่างสถาบันกับผู้สอนและผู้เรียนเพื่อ ลดความสิ้นเปลืองกระดาษ สื่อสารภายนอกกับผู้ปกครองนักเรียนและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ิ เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ ด้วยการใช้งานในลักษณะดังกล่าวทำให้จำเป็นต้องมีการเรียนรู้กับเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วจะมีการเรียนรู้เทคโนโลยีใน 3 ลักษณะ ได้แก่ - การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (learning about technology) เป็นการเรียนรู้ในเรื่องของเทคโนโลยี เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ว่าคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการประมวลผล เก็บบันทึกค้นคืนสารสนเทศได้อย่างไร เครื่องพิมพ์เลเซอร์และเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกมีการทำงานอย่างไร เทคโนโลยีการสื่อสารมีรูปแบบใดบ้าง ช่องทางสื่อสารมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยอุปกรณ์ใดบ้างฯลฯ วิชาเพื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีมีหลายวิชา เช่น วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น วิชาเครือข่ายดิจิทัล หรืออาจเรียนรู้จากเว็บไซต์ เช่น www.intel.com ที่นำเสนอในเรื่องต่่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะมัลติมีเดีย - การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (learning by technology) เป็นการใช้้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการสร้างบทเรียน การใช้้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้า การใช้เวิลด์ไวด์เว็บเป็นสื่อในลักษณะการสอบบนเว็บ การเรียนการสอนในลักษณะอีเลิร์นนิงและการทัศนศึกษาเสมือนด้วยแหล่งการเรียนรู้เสมือนจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นต้น - การเรียนรูุ้้ไปกับเทคโนโลยี (learning with technology) เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ได้แก่ การเรียนรู้ว่าขณะนี้เทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปในลักษณะและรูปแบบใดบ้างทั้งทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเช่น ซอฟต์แวร์โปรแกรมใหม่ ๆ เครื่อง tablet PC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ไร้สายที่ผู้ใช้สามารถเขียนลงบนจอภาพได้ กล้องดิจิทัลเพื่อถ่ายภาพและเว็บแค็ม (webcam)เพื่อใช้ส่งภาพขณะสนทนาบนอินเทอร์เน็ต ฯลฯ เมื่อเรียนรู้ถึงความใหม่ทันสมัยเทคโนโลยีแล้วจะนำมาประยุกต์ใช้ในวงการต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง เช่น การใช้กล้องวีดิทัศน์ถ่ายภาพการสอนส่งไปบนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้เรียนในสถานบันการศึกษาอื่นเห็นภาพและได้ยินเสียงการสอน การใช้เครือข่ายไร้สายด้วยเทคโนโลยี Wi-fi ทั้งในและนอกห้องเรียนแพทย์สามารถใช้ tablet PC เพื่อเขียนสั่งยาคนไข้และส่งไปยังห้อง ยาได้ทันที หรือใช้ในการค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตขณะปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพเหล่านี้เป็นต้น














หมวดที่๙ เทคโนโลยีทางการศึกษา
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมตามความ จำเป็น
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทาง วิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จาการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษ ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 69 จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
แนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา
แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ 4 ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
· โรงเรียนไม่แบ่งชั้น
· บทเรียนสำเร็จรูป
· การสอนเป็นคณะ
· คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ความพร้อม (Readiness) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
· ชุดการเรียนการสอน
· ศูนย์การเรียน
3. เวลาที่ใช้ในการศึกษา นวัตกรรมที่สนองความคิดนี้ ได้แก่
· ตารางเรียนแบบยืดหยุ่น
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การเรียนทางไปรษณีย์
4. การขยายตัวด้านวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้ขึ้น ได้แก่
· ดาวเทียมเพื่อการศึกษา
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การศึกษาทางไกล
· การเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต